ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ภาษาจีนสำหรับบุคลากรทางการแพทย์


MU-LA
ภาษาจีนสำหรับบุคลากรทางการแพทย์
Chinese for Medical Professionals
คณะ/ส่วนงาน คณะศิลปศาสตร์
ภาษาที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ภาษาไทย        
ทีมพัฒนารายวิชา
ชื่อ-นามสกุล อ.ดร.ยุวดี ถิรธราดล
e-mail yuwadee.tir@mahidol.edu
ชื่อ-นามสกุล นางสาวพนิดา หนูทวี ตำแหน่ง นักวิชาการคอมพิวเตอร์ (ชำนาญการพิเศษ)
ชื่อ-นามสกุล นายบุญฤทธิ์ พุ่มช้าง ตำแหน่ง นักวิชาการโสตทัศนศึกษา
ชื่อ-นามสกุล นายมฤคินทร์ อังคุละนาวิน ตำแหน่ง นักวิชาการโสตทัศนศึกษา
ระดับความยากของเนื้อหารายวิชา ขั้นกลาง 
รายวิชาจัดอยู่ในกลุ่ม กลุ่มวิชาสร้างทักษะใหม่ที่เป็น specific skills
รายวิชาจัดอยู่ในหมวด Literacy ของมหาวิทยาลัย
  • Health Literacy (Health, Sport, Nutrition)
  • Communication Literacy (Language, Academic Communication)
รูปแบบการเรียน เรียนด้วยตนเอง (self-paced)
การกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง Learning Outcome 
LO 1 บอกความหมายของคำศัพท์และข้อความภาษาจีนในสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรทางการแพทย์ จากการฟังภาษาจีนได้อย่างถูกต้อง
LO 2 ระบุอาการและความต้องการของผู้รับบริการทางการแพทย์จากการฟังภาษาจีนได้อย่างถูกต้อง
LO 3 เลือกข้อความเสียงสนทนาโต้ตอบภาษาจีนที่ถูกต้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ทางการแพทย์ได้ถูกต้อง
LO 4 พูดภาษาจีนในสถานการณ์ทางการแพทย์ที่พบบ่อยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
กลุ่มเป้าหมาย/ผู้เรียน 
  • บุคคลทั่วไป ได้แก่ ผู้ที่ประกอบอาชีพล่ามทั่วไป หรือล่ามในสถานพยาบาล ที่ต้องการพัฒนาความรู้และทักษะภาษาจีนเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะทางการแพทย์ 
  • อื่น ๆ บุคคลการทางการแพทย์ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ เภสัชกร และนักกายภาพบำบัด ที่ต้องการเตรียมความพร้อมเพื่อสื่อสารกับผู้รับบริการทางการแพทย์ชาวจีน 
ความรู้พื้นฐานที่ผู้สนใจเรียนวิชานี้ต้องมีมาก่อน 
ผู้ที่สนใจเรียนวิชานี้ ควรมีความรู้เรื่องระบบการออกเสียงภาษาจีน (汉语拼音) มาก่อน เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนในรายวิชานี้ ซึ่งเน้นทักษะการฟังและการพูดสนทนาภาษาจีนเกิดสัมฤทธิผลยิ่งขึ้น
ทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตขั้นพื้นฐานของผู้เรียนที่จำเป็นต้องมีมาก่อน
1.  มีทักษะในการใช้งานคอมพิวเตอร์โปรแกรมพื้นฐานทั่วไป และการใช้งานอินเทอร์เน็ต
2.  มีความพร้อมด้านอุปกรณ์และการเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ต
การนำผลการเรียนรู้ไปใช้ประโยชน์ / การตอบสนองความต้องการทางสังคม 
ผู้ที่เรียนวิชานี้ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะการฟังและการสนทนาภาษาจีนเพื่อสื่อสารในสถานการณ์ของการให้บริการทางการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการลดช่องว่างระหว่างผู้รับบริการทางการแพทย์กับบุคลากรทางการแพทย์ อีกทั้งยังเพิ่มความมั่นใจและความประทับใจแก่ผู้รับบริการ
แหล่งข้อมูลความรู้เพิ่มเติมที่น่าเชื่อถือใน Internet ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหารายวิชา
( link แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมภายนอก )
1.  www.thaiccschool.com
2.  www.jiewfudao.com
บทเรียนที่เกี่ยวข้อง (Related Courses)
1.  รายวิชา ศศภจ 171 ภาษาจีน 1
2.  หลักสูตรการสนทนาภาษาจีนสำหรับโรงพยาบาล ศูนย์ส่งเสริมการศึกษานานาชาติ หอการค้าไทย-จีน
ลงทะเบียน
ติดต่องานเทคโนโลยีการศึกษา กองบริหารการศึกษา
ในวันและเวลาราชการ : วันจันทร์ - วันศุกร์ 08.30-16.30 น.
โทร : 02-849-4600   Fanpage : MUx.Mahidol