ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การอ่านภาษากาย ภาษาใจ (Body language as a mind reading)


MU-SH

คำอธิบายรายวิชา

สาระที่ 1 “ความรู้เชิงทฤษฎี” หลักการพื้นฐานด้านจิตวิทยา (Introduction to Psychology) เพื่อความเข้าใจพื้นฐานด้านจิตใจและพฤติกรรมมนุษย์ ทฤษฎีจิตวิทยาและ พฤติกรรมศาสตร์ (Psychological and Behavioral Theories) รู้จักร่างกายตนเองเพื่อถอดรหัสความหมาย (Body decipher) เรียนรู้เรื่องมัดกล้ามเนื้อพื้นฐานที่จำเป็นต่อการอ่านภาษากาย (Basic muscles necessary to read body language) ทฤษฎีอาชญาวิทยาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเบี่ยงเบน (Criminology Theories related to deviant)

สาระที่ 2 “การประยุกต์ใช้” วิธีการจับเท็จ (Lies detection) การอ่านใจ (Mind reading) การพัฒนาทักษะการโต้ตอบและมีปฏิสัมพันธ์

สาระที่ 3 “เทคนิคการฝึกฝนตนเอง” เทคนิคการฝึกฝนตนเอง กระบวนการฝึกการพูดและการเป็นผู้รับฟังที่ดีสู่ความมั่นใจในการมีปฏิสัมพันธ์ วิธีการจัดการความเครียด (Stress management) สร้างความยืดหยุ่น (Resilient) การสร้างเป้าหมายที่ชัดเจน ในกระบวนการทางความคิดความรู้สึก (Growth Mindset) กิจกรรมเพื่อพัฒนาจิต วิธีการพัฒนาสมองสู่ความจำระยะยาวและให้มีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง การใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีจากแหล่งต่างๆในการเสริมสร้างสมาธิ (Meditation) และความสนใจ (Attention) เทคนิคการสร้างความประทับใจแรก (Managing first impression) การฝึกพัฒนาตนเอง และเทคนิคการปรับพฤติกรรม

 

ความสำคัญและจำเป็นในการพัฒนารายวิชาออนไลน์

การศึกษาเกี่ยวกับ "การอ่านภาษากายและอารมณ์" เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในสังคมปัจจุบันและอนาคต จะเห็นได้จากสื่อต่างๆว่าจิตวิทยาและพฤติกรรมศาสตร์กำลังเป็นที่สนใจจากกลุ่มคนหลาย ๆ คน โดยส่วนใหญ่เห็นความสำคัญในการเรียนรู้ด้านนี้ ซึ่งมีผลต่อการเติบโตทางธุรกิจ การบริการที่เสริมสร้างสุขภาพจิตของมนุษย์ และผู้ที่ต้องปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในกลุ่มเปราะบาง เช่น นักจิตวิทยา นักเจรจา หรือเจ้าหน้าที่รัฐและเอกชน ความโดดเด่นของรายวิชานี้คือเนื้อหาที่มีความเชื่อมโยงและลึกซึ้ง แต่ยังเข้าใจได้ง่าย โดยผสมผสานระหว่างศาสตร์และศิลป์ เนื้อหาหลักเป็นการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวัน โดยผสมผสานความเป็นวิทยาศาสตร์กับจิตวิทยาและพฤติกรรมศาสตร์ เนื้อหายังรวมหลักการและเทคนิคการอ่านภาษากายและพฤติกรรม ที่เหมาะสมกับผู้เรียนทุกวัยและประเภท ที่นักเรียนสามารถฝึกฝนและปฏิบัติตามได้ทันที

ผู้พัฒนารายวิชา

Course Staff Image #1

อาจารย์ ดร. ตฤณห์ โพธิ์รักษา

อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมศาสตร์

คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เจ้าหน้าที่ประสานงานระบบ

Course Staff Image #2

นางสาวฌลานันท์ แสงศิลา

นักวิชาการสารสนเทศ

สำนักงานบริหารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ช่องทางการติดต่อสื่อสาร

อาจารย์ ดร. ตฤณห์ โพธิ์รักษา : Trynh.pho@mahidol.ac.th นางสาวฌลานันท์ แสงศิลา : chalanan.san@mahidol.ac.th

คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

ลงทะเบียน
ติดต่องานเทคโนโลยีการศึกษา กองบริหารการศึกษา
ในวันและเวลาราชการ : วันจันทร์ - วันศุกร์ 08.30-16.30 น.
โทร : 02-849-4600   Fanpage : MUx.Mahidol